รถยนต์ที่จดทะเบียนแล้วทุกคันนั้น จะต้องติดแผ่นป้ายทะเบียนให้ครบถ้วน ถูกต้อง และในที่ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน สีของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่หลากหลายและแตกต่างกันนั้น มีดังนี้
รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์รับจ้างสามล้อ รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง และรถ-จักรยานยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด ได้แก่ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน ที่ใช้รับจ้างระหว่างจังหวัด โดยรับส่งคนโดยสารได้เฉพาะที่นายทะเบียนกำหนดพื้นแผ่นป้ายเป็นสีเหลืองสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น สีแดง สำหรับรถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด สีดำ สำหรับรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์ สีเขียว สำหรับรถยนต์รับจ้างสามล้อ สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์บริการธุรกิจ เช่น รถที่ใช้ขนคนในสนามบิน ท่าเรือ สถานีขนส่ง หรือสถานีรถไฟ และรถโรงแรม รถยนต์บริการทัศนาจร เช่นรถนำเที่ยวของบริษัททัวร์ โดยรถพวกนี้พื้นแผ่นป้ายเป็นสีเขียวสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็นสีขาว
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ พวกรถส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเก๋ง รถตู้ รถกระบะ มอไซค์ รถ MPV หรือรถ SUV โดย พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลขทะเบียน และขอบแผ่นป้ายเป็น สีดำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน และรถจักรยานยนต์ สีน้ำเงิน สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน สีเขียว สำหรับรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล สีแดง สำหรับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลหมายเหตุ จะมีแผ่นป้ายทะเบียนชนิดพิเศษ พวกเลขสวย โดยจะเป็นป้ายที่ออกให้ประมูล ซึ่งจะมีสีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียน หมายเลขทะเบียน และตัวอักษรต่างไปจากแผ่นป้ายทะเบียนปกติ และแต่ละจังหวัด สีของพื้นแผ่นป้ายทะเบียนก็จะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ตามประกาศของกรมการขนส่งทางบก (ยกเว้นรถสามล้อส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ไม่มีป้ายพิเศษนี้)
รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์ และรถใช้งานเกษตรกรรม พื้นแผ่นป้ายเป็นสีส้มสะท้อนแสง ตัวอักษร หมายเลข และขอบป้ายเป็นสีดำ
รถยนต์ของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต และรถจักรยานยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต พวกรถทูต ลักษณะป้ายจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ท ตามด้วยรหัสประเทศ ขีด แล้วก็เลขทะเบียน ตัวอย่างเช่นรถทูตญี่ปุ่นก็จะเป็น ท44 – 9999 พื้นแผ่นป้ายเป็นสีขาว (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง) ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีดำ
รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษของสถานทูต ในคณะผู้แทนทางกงสุล ในองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย และรถจักรยานยนต์ของบุคคลข้างต้น ลักษณะป้ายก็เหมือนรถทูต แต่ต่างกันตรงที่ รถในหน่วยงานพิเศษของสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ ส่วนรถกงสุลจะใช้ตัวอักษร ก ส่วนรถของสหประชาชาติ หรือองค์การระหว่างประเทศต่างๆ ในไทย จะใช้ตัวอักษร อ และ พื้นแผ่นป้ายเป็นสีฟ้า (สังเกตว่าไม่มีคำว่า สะท้อนแสง) ตัวอักษร ตัวเลข และขีดเป็นสีขาว ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ ขนาด และสีของแผ่นป้ายทะเบียนรถ พ.ศ. ๒๕๔๗.